เกมส์

  • 1

Toi di lang thang lan trong bong toi buot gia, ve dau khi da mat em roi? Ve dau khi bao nhieu mo mong gio da vo tan... Ve dau toi biet di ve dau? http://www.freewebtown.com/gaigoisaigon/

หมีพู


วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม คืออะไร

นวัตกรรม" คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม"นวัตกรรม" จึงถือเป็นกุญแจหลักที่จะผลักดันให้หน่วยเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ความสามารถของประเทศในการสร้าง "แรงขับเคลื่อนนวัตกรรม" จึงเป็นปัจจัยชี้ขาดอัตราการเจริญเติบโตและการปรับฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยความหมายของนวัตกรรม “ นวัตกรรม ” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น(Innovation)หรือเป็นการปรุงแต่ง ของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development)มีการทดลองในแหล่งทดลอง จัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ ผู้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐาน และมีความคิดสร้างสรรค์ ตัวอย่างแนวคิด นวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในด้านใด ประเทศใดมีผู้คิดผู้สร้างนวัตกรรมมาก ประเทศนั้นก็ร่ำรวย สมมติ คอนแทคเลนส์ ราคา 200บาท โดยค่าวัตถุดิบอาจจะประมาณ 75 สตางค์ ส่วนที่เหลือ 199.25 บาท เป็นค่าคิด คนในประเทศที่มีนักคิดจำนวนมาก มักจะมีระบบการเรียนการสอนที่เน้นให้ ผู้เรียนคิด และประเทศเหล่านี้ส่วนมาก ก็ประสบความสำเร็จจากผลงานสิ่งประดิษฐ์ จากนักคิดในทุกวงการ อย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ มีประชากรน้อยกว่าไทย12 เท่า แต่มีการจดสิทธิบัตรในแต่ละปี มากกว่าไทย หลายสิบเท่า จึงไม่น่าแปลกใจที่รายได้ประชากรต่อคนของสิงคโปร์สูงกว่าเราประมาณ 10 เท่า ประเทศอเมริการ่ำรวยมาได้ก็เพราะมีนักคิด ตัวอย่าง เช่น บิลล์ เกต [Window] สตีฟ จ็อบส์ (apple ipod pixar studio) และยังมีอีกมากมายที่น่าแปลกคือ นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ที่กล่าวมาทุกคน ไม่มีใครเรียนจบปริญญาตรีเลย ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนได้
http://joomla.ru.ac.th/mbainnovation/index.php?option=com_content&view=article&id=40&Itemid=41

เทคโนโลยี คืออะไร

เทคโนโลยี คืออะไร
ความหมายของเทคโนโลยี คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
 *** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
*** สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
*** ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
*** ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
ที่มา : http://arc.rint.ac.th/center/pongsak/e_ ... it4_2.html

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอที่มา: http://learners.in.th/blog/amrawiwan09 (13 กุมภาพันธ์)

ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทต่อการพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการศึกษา การออกแบบและการสร้างบทเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ผ่านระบบเครื่อข่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกปฏิบัติการออกแบบบ
http://www.edu.lru.ac.th/image51/GradDip_Teaching%20Profession.pdf

โครงการแก้มลิง

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงการแก้มลิง
"...ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง... เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ "โครงการแก้มลิง" น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ "แก้มลิง" เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘ทรงอธิบายวิธีการระบายน้ำตามพระราชดำริเรื่อง “แก้มลิง”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรแม้ในถิ่นทุรกันดาร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเอง บางแห่งต้องทรงพระดำเนินบุกป่าฝ่าเขาในภาคเหนือ ฝ่าดงทากชุกชุมในภาคใต้ เพื่อเสด็จฯไปทรงตรวจพื้นที่ที่จะพระราชทานโครงการต่างๆ ที่เหมาะสม หรือพระราชทานเขื่อนฝายแหล่งเก็บกักน้ำให้แก่ราษฎร แม้พระเสโทหยาดเต็มพระพักตร์ แม้ทากเกาะดูดพระโลหิตจากพระวรกาย ก็มิได้ทรงย่อท้อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้าช่วยแก้ปัญหาของประชาชนตลอดเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี โดยเฉพาะปัญหาการอาชีพ ปัญหาเรื่องน้ำ และดิน คือ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำท่วมในฤดูฝน ทรงพระราชดำริเริ่มโครงการด้านชลประทานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ โดยทรงยึดหลักการที่ว่า “ต้องมีน้ำ น้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น” ทรงตระหนักดีว่า “น้ำ” คือชีวิต น้ำมีความสำคัญต่ออาชีพเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตของราษฎรไทย โดยเฉพาะในชนบท ทรงพระราชดำริว่า การสงเคราะห์ราษฎรที่ได้ผลควรเป็นการสงเคราะห์อย่างถาวร นั่นก็คือ การช่วยราษฎรให้สามารถพึ่งตนเองได้ จึงทรงพระกรุณาดำริ ริเริ่มโครงการต่างๆ เมื่อ “พัฒนาทรัพยากรน้ำ” ในรูปแบบต่างๆ มาโดยตลอด โครงการเขื่อนฝายแหล่งเก็บกักน้ำที่สำคัญ ทั้งเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม และป้องกันอุทกภัย คือ โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี เก็บน้ำได้ประมาณ ๗๘๕ ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างเสร็จเปิดใช้แล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๒ และเป็นที่ประจักษ์ว่า สามารถเก็บกักน้ำไว้เพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมและป้องกันอุทกภัยในจังหวัดภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่จังหวัดนครนายก คือ เขื่อนใหญ่สูง จุน้ำ ๓๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร จะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นการก่อสร้างเขื่อนดินผสมกับเขื่อนคอนกรีต โดยนำปูนซีเมนต์และเถ้าลิกไนต์ที่ได้จากการเผ่าถ่านหินลิกไนต์ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ผสมกับปูนทราย หิน และน้ำ บดอัดเป็นชั้นๆ สามารถลดปริมาณปูซีเมนต์ลงได้จำนวนมาก เป็นการประหยัดงบประมาณอย่างมาก เมื่อโครงการสำเร็จจะสามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ และส่งน้ำให้แก่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนครนายก เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ๑๖ ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำเพื่ออุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ๗ ล้านลูกบาศก์เมตร ลดอุทกภัยได้ร้อยละ ๓๔ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๕๓๙) โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๗ เป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่งในการแก้ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว อันเนื่องจากน้ำเค็มรุกล้ำ และน้ำเสียจากนากุ้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ “ทำประตูน้ำที่ปากแม่น้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนัง ๓ กิโลเมตร ทรงพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเค็มและสามารถทำให้ประชาชนมีน้ำบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร” (สุเมธ ตันติเวชกุล - แนวพระราชดำริและการพัฒนาชนบท) นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมพระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงดินในภูมิภาคต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น พระราชทานพระราชดำริให้สร้าง เขื่อนเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ ในจังหวัดต่างๆ ทั้ง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เป็นต้นว่า เขื่อนห้วยกุ่ม เขื่อนพรมธารา จังหวัดชัยภูมิ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อ่างเก็บน้ำห้วยเสี้ยว จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยนากระจงจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ่างเก็บน้ำห้วยแดน ห้วยหีบ สกลนคร อ่างเก็บน้ำห้วยไกรทอง ประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำต้นหยง นราธิวาส เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ จำนวนมากนับด้วยร้อย ได้ช่วยให้ราษฎรในพื้นที่ที่แต่เดิมเคยแห้งแล้ง สามารถเพาะปลูกเพิ่มผลผลิตเป็นพืชพันธุ์ธัญญาหารและใช้น้ำเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงโค ทำให้ระดับความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากพระราชทานพระราชดำริให้สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ ยังพระราชทาน โครงการระบายน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง เช่น โครงการระบายน้ำจาก “พรุบาเจาะ” จังหวัดนราธิวาส โดยทรงนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างพนังกั้นน้ำในลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณ จังหวัดหนองคาย ตามโครงการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาเป็นแนวทางทรงประยุกต์และพระราชทานให้กรมชลประทานรับไปดำเนินการ หลังดำเนินการเพียง ๔ เดือน มีผลให้ใช้พื้นดินเป็นประโยชน์ได้ถึง ๑๑๙,๐๐๐ ไร่ และพื้นที่ “พรุบาเจาะ” ซึ่งแต่เดิมเพาะปลูกไม่ได้เพราะน้ำท่วมได้พ้นสภาพ “พรุ” ราษฎรใช้ที่ดินเพาะปลูกเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ถึงอีกเท่าตัว ในการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอุตสาหะวิริยะคิดค้น การทำฝนเทียม หรือ ฝนหลวง เพื่อจัดหาน้ำให้แก่พื้นดินแห้งแล้ง ด้วยพระปรีชาสามารถ ล้ำเลิศ ทรงกำหนดวิธีการไว้ ๓ ขั้นตอน คือ“ก่อกวน เลี้ยงให้อ้วน และโจมตี” เป็นปฏิบัติการที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ฝนเทียมนานาชาติต่างยกย่องพระปรีชาสามารถของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการค้นคว้าทำฝนเทียมของไทย โดยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นี้ ได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมทำฝนในเขตร้อนของภูมิภาคอาเซียน มีประเทศต่างๆ นำแนวทางของไทยไปใช้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และบังคลาเทศ เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๕๓๙) ในการแก้ปัญหาอุทกภัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนจากน้ำท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่เศรษฐกิจด้วย จึงทรงพระวิริยะอุตสาหะศึกษาหาทางแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากพระราชทานพระราชดำริให้ปรับปรุงท่อระบายน้ำในตรอกซอกซอย ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองสายหลัก ด้วยการขุดลอกขยายคูคลองต่างๆ ให้กว้างและลึกสร้างอุโมงค์ผันน้ำใต้ดิน ก่อสร้างสถานีสูบน้ำเพิ่ม จัดให้มีพื้นที่สงวนเป็นที่โล่ง ไม่ให้มีการก่อสร้างขยายเมือง เพื่อให้สามารถใช้เป็นทางระบายน้ำคลองในฤดูน้ำหลากแล้ว ยังพระราชทานพระราชดำริจัดให้มี “แก้มลิง” คือ สถานที่เป็นบึงเก็บพักน้ำชั่วคราว รอให้ระดับน้ำในคูคลองระบายน้ำพร่องลง แล้วจึงระบายปล่อยน้ำ เป็นการช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังได้ดี โครงการ “แก้มลิง” นี้มีในหลายพื้นที่ เช่น โครงการแก้มลิงฝั่งตะวัน ออก รับน้ำจากสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ผ่านคลองธรรมชาติแนวเหนือและใต้ก่อนระบายออกสู่อ่าวไทยบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพฯ ระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น โครงการแก้มลิง นี้ ยังมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมด้วย โดยน้ำที่ปล่อยลงจาก แก้มลิง จะช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียในคลองต่างๆ ให้เบาบางลง แล้วผลักลงสู่ทะเล (ในหลวง นายช่างใหญ่แห่งแผ่นดิน ๒๕๔๓) พระปรีชาสามารถใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านวิศวกรรม เพื่อทรงแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบำบัดน้ำเน่าเสีย ในชั้นแรก ได้พระราชทานพระราชดำริให้บำบัดโดยวิธีธรรมชาติ “บึงมักกะสัน” โดยใช้ผักตบชวา รับสั่งว่า “ผักตบชวา นี้ มันกินสิ่งโสโครก” การบำบัดวิธีธรรมชาตินี้ สามารถลดความเน่าเสียของน้ำเฉลี่ยได้ร้อยละ ๕๐แต่ต่อมา เมื่อการทางพิเศษสร้างทางด่วนมหานครคร่อมบึงมักกะสัน ทำให้บึงขาดแสงแดด การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติดังกล่าวจึงไม่เป็นผล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยขึ้น โดยทรงนำแนวทางเริ่มต้นมาจาก “หลุก” อุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเรียกเครื่องกลนี้ว่า “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ประดิษฐ์สำเร็จเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๖ ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลที่ ๑ งผลงานคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี ๒๕๓๖ เป็นรางวัลเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “สิทธิบัตร” เลขที่ ๓๑๒๗ ในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันนักประดิษฐ์” (ชีวิตและทรัพยากรแห่งแผ่นดิน ใต้เบื้องพระยุคลบาท ๒๕๓๙) ปัญหาจราจรแออัดติดขัดในกรุงเทพมหานคร นั้น นอกจากจะนำเอาความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากเกือบแสนล้านบาทต่อปีแล้วยังก่อปัญหามลพิษจากท่อไอเสียเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาจราจร ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วน เช่น โครงการขยายสะพานผ่านฟ้าสีลาศและสร้างสะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์ ปรับปรุงเพิ่มช่องทางจราจรบริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพิ่มช่องทางเลี้ยวหน้ากรมประชาสัมพันธ์เดิม เพิ่มพื้นผิวจราจรบริเวณโซนสะพานพระราม ๙ และการสร้างระบบเครือข่ายระยะยาวเช่น โครงข่ายถนนวงแหวนรัชดาภิเษก โครงข่ายถนนวงแหวนอุตสาหกรรม โครงข่ายจตุจักรทิศตะวันตก - ตะวันออก ซึ่งมีการสร้างสะพานพระราม ๘ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ จะเชื่อมต่อเส้นทางจราจรกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นตามพระราชดำริ เพื่อลดปัญหาการจราจรแออัดต่อเนื่องระหว่างกรุงเทพฯกับธนบุรีแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของพสกนิกรไทย มีอีกเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากมีโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการ ในด้านอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร นั้น ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนประเทศไทยจะตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยทรงกำหนดให้เกษตรกรแบ่งพื้นที่ประมาณ ๑๕ ไร่ เป็น ๓ ส่วนส่วน แรกประมาณ ๓ ไร่ ขุดสระกักน้ำไว้ใช้เพาะปลูก ส่วนที่สองประมาณ ๑๐ ไร่ เป็นที่เพาะปลูก ทำนาข้าว ๕ ไร่ ปลูกพืชสวน ๕ ไร่ ส่วนที่สาม ประมาณ ๒ ไร่ เป็นที่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชสวนครัว เป็นหลักการของ ทฤษฎีผสมผสานให้ราษฎรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ คือ ผืนดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการพึ่งพาตนเองได้ ช่วยให้มีที่อยู่ มีข้าวและพืชผักพอบริโภค ถ้ามีผลดีอาจขายเป็นรายได้เสริมไม่ร่ำรวยแต่ไม่อดอยาก และเป็นหลักการของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตลอดระยะเวลา ๕๔ ปี นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราช พระปัญญาคุณ พระเกียรติคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระเมตตาคุณ มิได้แผ่ปกเฉพาะพสกนิกรไทย หากแต่ยังแผ่ไพศาลไปถึงประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย และมิใช่ชาวไทยเท่านั้นที่เทิดทูน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ชาวต่างประเทศต่างก็แซ่ซ้องสดุดีสรรเสริญพระเกียรติคุณพระมหาราชเจ้าของชาวไทยดังปรากฏว่า สถาบันในนานาประเทศได้ยกย่องประกาศเกียรติคุณ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมาก ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ นี้ สถาบันวิศวกรโยธาแห่งสหราชอาณาจักร ก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่เฉลิมพระเกียรติ ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพ “วุฒิวิศวกรกิตติมศักดิ์” ด้วยประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนำความปลาบปลื้มปีติมาสู่พสกนิกรชาวไทยถ้วนหน้า อีกวาระหนึ่ง ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เทอญ โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย - คลองสนามชัย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ1. ความเป็นมาของโครงการเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริโครงการแก้มลิงซึ่งเป็นโครงการระบายน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระรบรมมหาราชวัง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลติดต่อกันหลายวัน พร้อมทั้งน้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยปกติแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรับน้ำได้ประมาณ 3,000 ลบ.ม./วินาที โดยไม่ล้นตลิ่ง แต่เมื่อปี พ.ศ.2538 ในช่วงฤดูน้ำหลากมีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 5,500 ลบ.ม./วินาที น้ำจึงล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้างขวาง ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการแก้มลิง ที่สมควรดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และพื้นที่ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร โดย "แก้มลิง" นี้ให้ทำหน้าที่รวบรวมน้ำ รับน้ำ และดึงน้ำท่วมขังพื้นที่ทางตอนบนมาเก็บไว้ พร้อมกับระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก และการสูบน้ำที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ..2538 โดยอาศัยคลองสรรพสามิต คลองสหกรณ์ และพื้นที่บริเวณใกล้คลองดังกล่าวนั้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสภาพพื้นที่โดยทั่วไปไม่เอื้ออำนวยในการทำโครงการ อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงควรพิจารณาศึกษาโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" และคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงแทน เนื่องจากคลองมหาชัย - คลองสนามชัยนี้ เป็นแหล่งรับน้ำใกล้บริเวณน้ำท่วมขังในเขตจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และกรุงเทพฯ ที่ระบายน้ำลงมา ลักษณะโครงการที่สำคัญจะประกอบด้วย การก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่าง ๆ พร้อมด้วยสถานีสูบน้ำตามความจำเป็น ซึ่งคาดว่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนไม่มากนัก และจะได้ประโยชน์คุ้มค่า รวมทั้งยังสามารถสร้างระบบให้เชื่อมกับโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" รวมเป็นระบบในการช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษา และพิจารณาดำเนินการโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" โดยเร่งด่วนต่อไป1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) ปิดกั้นคลองสายต่าง ๆ พร้อมสถานีสูงน้ำตามความจำเป็น โดย "แก้มลิง" จะทำหน้าที่รวบรวม รับ และดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนลงมาเก็บไว้ในคลองมหาชัย - คลองสนามชัย และคลองต่าง ๆ ในพื้นที่ แล้วสูบทิ้งลงทะเลผ่านทางปากคลองมหาชัย คลองพระราม และคลองขุนราชพินิจใจ ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูง รวมทั้งการเปิดระบายออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลง ของน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นเดียวกับโครงการทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งดำเนินการได้ผลมาแล้วเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 25381.2 ขอบเขตโครงการขอบเขตของพื้นที่โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สรุปได้ดังนี้ทิศเหนือ ติดเขต อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โดยอาศัยคลองมหาสวัสดิ์เป็นแนวรับน้ำทิศตะวันออก ติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้สะพานพระราม 7 ลงไปจดเขตราษฎร์บูรณะ เขตพระประแดงกิ่ง อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ โดยมีคลองขุนราชพินิจใจเป็นแนวแบ่งเขตทิศใต้ จดชายทะเลในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ และเขต อ.เมือง จ.สมุทรสาคร1.3 เป้าหมายโครงการ1. เร่งระบายน้ำลงสู่พื้นที่แก้มลิงโดยเร็วที่สุด โดยแบ่งปริมาณน้ำให้ระบายไปตามคลองระบายน้ำ และแหล่งเก็บชะลอน้ำตามประสิทธิภาพที่มีอยู่เดิม และสมดุลกับปริมาณน้ำหลาก2. ปรับปรุงคลองระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ตามที่ได้ศึกษากำหนดแนวทางไว้3. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำต่าง ๆ ตามที่กำหนดและวางแผนไว้4. ดำเนินการโครงการ โดยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ1. ช่วยระบายน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทิ้งลงทะเล2. ช่วยลดระยะเวลาน้ำท่วมขังให้สิ้นลง3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของราษฎรในพื้นที่น้ำท่วม4. ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม5. ลดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ 6. การชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย7. ช่วยให้มีการชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสียเมื่อดำเนินการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำในแม่น้ำท่าจีนตอนล่างในเขตจังหวัดสมุทรสาครเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้มีแหล่งน้ำจืดในฤดูแล้งเพียงพอสำหรับนำมาใช้ไล่น้ำเสียได้ ปัจจุบันน้ำในคลองภาษีเจริญและคลองมหาชัย รวมทั้งทางน้ำที่ต่อเนื่องในเขต กทม. ส่วนใหญ่จะมีน้ำเสียเป็นปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งสถานีสูบน้ำต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สามารถช่วยสูบน้ำเสียออกทิ้งลงทะเลในช่วงเวลาที่เหมาะสม แล้วผันน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเข้าไปล้างคลองต่าง ๆ เหล่านั้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้จะต้องพิจารณาดำเนินการโดยรอบคอบ เพราะจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ่อกุ้ง บ่อปลา ในเขตตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วย http://porbandit.blogspot.com/2010/01/blog-post.html

โครงการฝายชะลอความชุ่มชื้น

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการฝายชะลอความชุ่มชื้น
“นี่แหละคือลำห้วยในหน้าฝน เอาวัสดุที่หาได้ง่ายๆ เช่น ดิน หิน ไม้ สร้างฝายเล็กๆ กั้นน้ำไว้ง่าย ๆ ทำแบบถูก ๆ พอหมดฝน แรก ๆ มันก็จะเก็บน้ำไว้ได้ อาจจะ 1 อาทิตย์ 2 อาทิตย์ ซึ่งพักหนึ่ง ๆ ดินโคลนจะอุดรอยรั่วก็จะเก็บน้ำได้ 3 อาทิตย์ 4 อาทิตย์ เป็นเดือนหลังฝน แล้วป่าก็จะฟื้นขึ้นมาเอง”พระราชดำริแนวพระราชดำริดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งกับนายสวัสดิ์ วัฒนายากร อธิบดีกรมชลประทานสมัยนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในการสร้างน้ำ แม้แต่ลำห้วยแห้ง ๆ พระองค์ก็ยังทรงเห็นน้ำแล้วทรงรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการจะนำน้ำแหล่งนั้นมาทำประโยชน์อะไร จากแนวพระราชดำริในการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ทำให้ปรากฏว่าเดี๋ยวนี้ทุกอย่างเป็นไปตามที่พระองค์รับสั่งไว้ทุกประการ ทำให้ผืนป่าในหน้าแล้งมีน้ำซึมซับทั่วไป ส่วนน้ำที่ซึมรั่วไปก็ไปทำให้พื้นดินชุ่มชื้น ป่าทางภาคเหนือที่เคยแห้งแล้งกลับฟื้นตัวเขียวชอุ่ม เช่น ป่าขุนแม่กวง ป่าลุ่มน้ำปิง เเป็นต้น จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เกิดขึ้นจากพระอัจฉริยภาพและพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นจะช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะในชนบทให้มีน้ำกิน น้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังพระปฐมบรมราชโองการ ที่ได้พระราชทานไว้แก่คนไทย เมื่อครั้งที่จะทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อปี 2489 ความว่า ซึ่งพระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจทั้งหลาย ได้สะท้อนถึงแนวพระราชดำริที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ที่จุดล่างสุดของปิรามิดที่ คว่ำหัวลง และทำหน้าที่แบกภาระปัญหาทั้งหมดของประชาชนที่อยู่ข้างบนของปิรามิดดังกล่าว และนำภาระหรือปัญหานั้นไปสู่อนาคต ที่ยั่งยืน และเกิด “ประโยชน์สุข” กลับย้อนคืนแก่ประชาชนเจ้าของประเทศ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ นิตยสาร National Geographic” เมื่อ พ.ศ. 2525 เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า “เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนปิรามิด มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอด และมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะอยู่ตรงกันข้าม นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดคอและบริเวณหัวไหล่อยู่เสมอ” โดยทุกท่านสามารถรับชมพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาแหล่งน้ำของพระองค์ ได้จากนิทรรศการ ชุด 60 ปี ครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์ ซึ่งเป็นโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศ โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ได้รับรางวัลในแต่ละภาค ล้วนเกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริที่ต้องการแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎรได้มีน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนน้ำเพื่อการเพาะปลูก ซึ่งพระราชดำริที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาแหล่งน้ำ ไม่เพียงช่วยให้ราษฎรมีน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเพาะปลูกเท่านั้น แต่ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ได้ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้น้ำ จากกลุ่มผู้ใช้น้ำหนึ่งไปสู่กลุ่มผู้ใช้น้ำหนึ่ง ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวม ทั้งให้น้ำมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไป พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการขจัดปัดเป่าปัญหาความยากจนของราษฎร ดังปรากฏเป็นรูปธรรมด้วยโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนหลายร้อยหลายพันโครงการ ตลอดระยะเวลา 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัตินั้น คงจะเป็นเครื่อง ยืนยันได้เป็นอย่างดี ถึงความห่วงใยในความทุกข์ร้อนของพสกนิกรของพระองค์ ดังพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งอยู่เสมอว่า
http://porbandit.blogspot.com/2010/01/blog-post.html

ทฤษฎีใหม่

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีใหม่
“..... การทำทฤษฎีใหม่นี้มิใช่ของง่ายๆ แล้วแต่ที่ แล้วแต่โอกาส และแล้วแต่งบประมาณ ทฤษฎีใหม่นี้จึงต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย...”พระราชดำริปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ ๑๕ ไร่ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเหมาะสม ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้มีรายได้ใว้ใช้จ่ายและมีอาหารใว้บริโภคตลอดปี (กรมวิชาการ, ๒๕๓๙: ๗๗) ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อการผลิตทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า "…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…" (สำนักพระราชวัง, ๒๕๔๒: ๓๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในพื้นที่ส่วนพระองค์ขนาด ๑๖ ไร่ ๒ งาน ๒๓ ตารางวาใกล้วัดมงคล ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมโครงการของรัฐ ทั้งนี้ก่อนที่จะทรงนำเอกสารออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ นั้น ทรงให้จัดตั้ง "ศูนย์บริหารพัฒนา" ตามแนวพระราชดำริ อยู่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรโดยประสานความร่วมมือระหว่าง วัด ราษฎรและรัฐ ทำการเผยแพร่อาชีพการเกษตรและจริยธรรมแก่ประชาชนในชนบท โดยทรงหวังว่าหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางสาธิตในท้องที่อื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาด้านการเกษตรนั้น ก็คือแนวคิดและมรรควิธีที่รู้จักกันในนาม "เกษตรทฤษฎีใหม่" (อำพล, ๒๕๔๒: ๓-๔) พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น) ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, ๒๕๔๒) ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน (๑) การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก (๒) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย (๓) ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง (๔) สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ (๕) การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง (๖) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ ขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ - เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) - ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง) - ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน ๒๕ แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น
http://porbandit.blogspot.com/2010/01/blog-post.html